home back

ธรรมะและคำสั่งสอน
เรื่องธรรมชาติของมนุษย์ และสรรพสิ่ง

ปัจจัย ๔ ความสุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง
ธรรม ๔ ประการเรื่องรักและโทสะ ตระกูลมั่งคั่งไม่ได้นานเพราะเหตุ ๔ อย่าง
ฐานะ ๔ ประการ ความไม่อิ่มใน ๓ อย่าง
ฐานะที่ขอไม่ได้ในโลก ๕ ประการ ชาย หญิงผูกใจกันด้วยอาการ ๘ อย่าง
บัว ๔ เหล่า คู่สร้างคู่สมต้องประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
บุคคล ๓ จำพวก การอยู่ร่วมกันของสามี ภรรยามี ๔ ประเภท
อุปกิเลสที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง ๑๖ ประการ ประเภทของกรรม
พลัง ๘ ประการ วิชชา ๘ ประการ
อภิญญา ๖ ประการ สังขาร ๓

ปัจจัย ๔ ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพคือ

๑.เครื่องนุ่งห่ม
๒.อาหาร
๓.ที่อยู่อาศัย
๔.ยารักษาโรค
home

ธรรม ๔ ประการเรื่องความรัก โทสะ

๑.ความรักเกิดเพราะความรักก็มี
๒.โทสะเกิดเพราะความรักก็มี
๓.ความรักเกิดเพราะโทสะก็มี
๔.โทสะเกิดเพราะโทสะก็มี
home

ฐานะ ๔ ประการ

๑.จะทราบศีลของบุคคลก็ด้วยการอยู่ร่วมกัน
๒.จะทราบความสะอาดของบุคคลด้วยการงาน
๓.จะทราบความกล้าหาญของบุคคลในเวลามีอันตราย
๔.จะทราบปัญญาของบุคคลด้วยการสนทนา
home

ฐานะที่ขอไม่ได้ในโลก ๕ ประการ

๑.ขอให้สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า อย่าแก่
๒.ขอให้สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาว่า อย่าเจ็บ
๓.ขอให้สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า อย่าตาย
๔.ขอให้สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาว่า อย่าสิ้นไป
๕.ขอให้สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาว่า อย่าฉิบหาย
home

เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป

บัว ๔ เหล่า ได้แก่

๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)
๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปจิตัญญู)
๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง  (เนยยะ)
๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)
home

บุคคลมี ๓ จำพวกได้แก่

นัยที่ ๑. 1.1คนมีใจเป็นแผล 1.2คนมีใจเหมือนสายฟ้า 1.3คนมีใจเหมือนเพชร
นัยที่ ๒. 2.1คนไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ 2.2คนควรคบควรเข้าใกล้ 2.3คนควรเข้าใกล้ควรคบ ควรสักการะ
นัยที่ ๓. 3.1คนปากเหม็น 3.2คนปากหอม 3.3คนปากหวาน
นัยที่ ๔. 4.1คนตาบอด 4.2คนตาเดียว 4.3คนสองตา
นัยที่ ๕. 5.1คนปัญญาคว่ำ 5.2คนปัญญาเหมือนชายพก 5.3คนปัญญามาก

อีกพุทธพจน์ได้ตรัสกล่าวถึงบุคคล ๓ จำพวกไว้อีกว่า
๑.บุคคลเปรียบด้วยรอยขีดในศิลา
๒.บุคคลเปรียบด้วยรอยขีดบนแผ่นดิน
๓.บุคคลเปรียบด้วยรอยขีดในน้ำ
home

ความสุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง

๑.สุขเพราะมีทรัพย์
๒.สุขเพราะได้ใช้สอยทรัพย์
๓.สุขเพราะไม่มีหนี้
๔.สุขเพราะทำงานสุจริต ไม่มีโทษ
home

ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นานเพราะเหตุ ๔ อย่าง

๑.ไม่แสวงหาของที่หาย
๒.ไม่บูรณะซ่อมแซมของเก่า
๓.ไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย
๔.ตั้งบุรุษหรือสตรีผู้ทุศีลเป็นพ่อบ้านแม่เรือน
home

ความไม่อิ่มมี ๓ อย่าง

๑.ไม่อิ่มในการนอน
๒.ไม่อิ่มในการดื่มสุราเมรัย
๓.ไม่อิ่มในการเสพเมถุน
home

ชาย หญิง ผูกใจกันด้วยอาการ ๘ อย่างคือ

 
๑.ด้วยรูปร่าง ๕.ด้วยการร้องไห้
๒.ด้วยการยิ้ม ๖.ด้วยอากัปกิริยา
๓.ด้วยคำพูด ๗.ด้วยของกำนัล
๔.ด้วยเพลงขับ ๘.ด้วยสัมผัส

home

คู่สร้างคู่สมนั้น ควรต้องมีธรรม ๔ ประการคือ

๑.มีศรัทธาเสมอกัน
๒.มีศีลเสมอกัน
๓.มีจาคะเสมอกัน
๔.มีปัญญาเสมอกัน
home

การอยู่ร่วมกันแห่งสามีภรรยา ท่านแบ่งเป็น ๔ ประเภทคือ

๑.ศพอยู่ร่วมกับศพ หมายถึงสามีและภรรยาไร้ศีลธรรมทั้งคู่
๒.ศพอยู่ร่วมกับเทพ หมายถึงสามีไร้ศีลธรรมแต่ภรรยามีศีลธรรม
๓.เทพอยู่ร่วมกับศพ หมายถึงสามีมีศีลธรรมแต่ภรรยาไร้ศีลธรรม
๔.เทพอยู่ร่วมกับเทพ หมายถึงสามีมีศีลธรรมและภรรยามีศีลธรรม
home

อุปกิเสส คือ สิ่งที่ทำให้เศร้าหมอง มี ๑๖ ประการได้แก่

๑.โลภะ โลภ ๙.มายา มารยา เจ้าเล่ห์
๒.โทสะ พยาบาท ๑๐.สาเถยยะ โอ้อวด
๓.โกรธะ โกรธ ๑๑.ถัมถะ หัวดื้อ กระด้าง
๔.อุปนาหะ ผูกโกรธ ๑๒.สารัมภะ แข่งดี
๕.มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๑๓.มานะ ถือตัว
๖.ปลาสะ ตีเสมอ ๑๔.อติมานะ ดูหมิ่น
๗.อิสสา ริษยา ๑๕.มทะ มัวเมา
๘.มัฉริยะ ตระหนี่ ๑๖.ปมาทะ ประมาท เลินเล่อ

home

เรื่องของกรรม พระพุทธเจ้าท่านได้จำแนกไว้อย่างลึกซึ้งแบ่งเป็นหลายประเภทคือ

กรรม ๒ ได้แก่
๑.กรรมชั่ว หรือกรรมที่เป็นอกุศล (อกุศลกรรม)
๒.กรรมดี หรือกรรมที่เป็นกุศล (กุศลกรรม)

กรรม ๓ ได้แก่
๑.การกระทำทางกาย (กายกรรม)
๒.การกระทำทางวาจา (วจีกรรม)
๓.การกระทำทางใจ (มโนกรรม)

กรรม ๑๒ ได้แก่
๑.กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันในภพนี้ (ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม) ๗.กรรมบีบคั้นที่ให้ผลทุเลาลง หรือบั่นทอนวิบากลง (อุปปีฬกกรรม)
๒.กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิดในภพหน้า (อุปปัชชเวทนียกรรม) ๘.กรรมตัดรอนที่มีแรงส่งเข้าตัดรอนชนกกรรมให้ขาดไป (อุปฆาตกกรรม)
๓.กรรมให้ผลในภพต่อๆไป (อปราปริยเวทนียกรรม) ๙.กรรมหนักที่ให้ผลทันทีเช่น สมาบัติ ๘ หรือ อนันตริยกรรม (ครุกกรรม)
๔.กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก (อโหสิกรรม) ๑๐.กรรมทำมากรองจากครุกกรรม (พหุลกรรม)
๕.กรรมแต่งให้เกิด หรือเป็นตัวนำไปเกิด (ชนกกรรม) ๑๑.กรรมจวนเจียนตอนใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อบนก็ให้ผลก่อน (อาสันนกรรม)
๖.กรรมสนับสนุนซ้ำเติมจากชนกกรรม (อุปัตถัมภกรรม) ๑๒.กรรมเจตนาอ่อนหรือไม่เจตนาตรงๆ จะให้ผลเมื่อไม่มีอันอื่น (กตัตตากรรม)

อนันตริยกรรม ๕ คือกรรมหนัก ๕ ประการที่บาปที่สุด ซึ่งให้ผลทันทีได้แก่
๑.ฆ่ามารดา (มาตุฆาต)
๒.ฆ่าบิดา (ปิตุฆาต)
๓.ฆ่าพระอรหันต์ (อรหันตฆาต)
๔.ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต (โลหิตุปบาท)
๕.ทำให้สงฆ์แตกกัน (สังฆเภท)
home

พลัง ๘ ประการ

๑.ทารกมีการร้องไห้เป็นพลัง ๕.คนพาลมีการเพ่งโทษคนอื่นเป็นพลัง
๒.ผู้หญิงมีความโกรธเป็นพลัง ๖.บัณฑิตมีการเพ่งโทษตนเองเป็นพลัง
๓.โจรมีอาวุธเป็นพลัง ๗.ผู้คงแก่เรียนมีการพิจารณาเป็นพลัง
๔.พระราชามีความเป็นใหญ่ (อำนาจ)เป็นพลัง ๘.สมณพราหมณ์มีขันติเป็นพลัง

home

วิชชา ๘ คือความรู้แจ้งที่วิเศษอันได้แก่

๑.ญาณในวิปัสสนา คือใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสังขาร (วิปัสสนาญาณ)
๒.ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ เช่นการถอดกายทิพย์ (มโนมยิทธิ)
๓.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๔.หูทิพย์ (ทิพพโสต)
๕.รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ (เจโตปริยญาณ)
๖.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติ)
๗.ตาทิพย์ (ทิพพจักขุ)
๘.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ)
*ข้อ 3-8 ตรงกับอภิญญา ๖ ดังนี้
home

อภิญญา ๖

อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่
๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต)
๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ)
home

สังขาร ๓

สังขารคือ สภาพที่ปรุงแต่งที่ไม่ยั่งยืน ได้แก่
๑.สภาพที่ปรุงแต่งกาย การกระทำทางกาย (กายสังขาร)
๒.สภาพที่ปรุงแต่งวาจา การกระทำทางวาจา (วจีสังขาร)
๓.สภาพที่ปรุงแต่งใจ การกระทำทางความคิด (จิตตสังขาร)
home
home back
กลับหน้าศาลา